Search
Close this search box.

น้ำมันผิวส้มมะปี๊ดจันทบุรี

      จังหวัดจันทบุรีมีความหลากหลายทางชีวภาพของพันธุ์พืชและสัตว์ และมีองค์ความรู้เกี่ยวกับการใช้สมุนไพร เครื่องเทศ และพืชผักสวนครัวในอาหารมาแต่โบราณ ทั้งเพื่อเป็นเครื่องประกอบในอาหารคาว-หวาน เป็นยารักษาโรค รวมถึงพัฒนานำมาใช้เป็นผลิตภัณฑ์ดูแลรักษาความสวยงาม และยังเป็นที่ทราบกันดีว่าด้วยสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้นนี้ทำให้สามารถเพาะปลูกผลไม้เศรษฐกิจที่ทำรายได้ทั้งในระดับประเทศและส่งออก ไม่ว่าจะเป็น มังคุด เงาะ สละ และราชาแห่งผลไม้คือ ทุเรียน นอกจากนี้ยังมีชุมชนเชิงเกษตรหลายชุมชนพร้อมกับวิถีความเป็นอยู่ของชาวสวนเมืองจันท์ เกษตรแบบชาวบ้านดั้งเดิม และภูมิปัญญาต่างๆ มีการใช้ส้มจี๊ด หรือคนในท้องที่เรียกกว่า “ส้มมะปี๊ด หรือ “มะปี๊ดเป็นพืชสวนครัวประจำถิ่นนิยมนำมาใช้ในการ 
ปรุงอาหารที่มีความเปรี้ยวไม่แพ้มะนาวในอาหารคาว-หวาน เช่น น้ำพริก ทำให้อาหารมีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ 

      “ส้มมะปี๊ด”  (Citrus mitis Blanco.)  หรือมีชื่อสามันเรียกว่า Calamondin ซึ่งในประเทศไทยจะเป็นที่รู้จักและใช้ประโยชน์ในวงแคบ มีการใช้ในบางพื้นที่โดยเฉพาะจันทบุรีที่นิยมใช้เพื่อปรุงแต่งอาหาร แต่ในต่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งฟิลิปปินส์ที่ถือเป็นไม้ผลเศรษฐกิจหลัก และมีการใช้อย่างกว้างขวางในประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย  ด้วยจุดเด่นส้มมะปี๊ดที่นอกจากจะให้รสเปรี้ยว เมื่อพิจารณาองค์ประกอบหลัก (Proximate compositions) น้ำหนักแห้ง 100 กรัม ส้มมะปี๊ดให้พลังงาน 71 Kcal มีองค์ประกอบที่เป็นสารอาหาร (Nutrients) ที่สำคัญ  โปรตีน 1.88 กรัม คาร์โบไฮเดรต 15.9 กรัม ไขมันต่ำเพียง 0.86 กรัม ใยอาหารสูงถึง 6.5 กรัม และที่สำคัญส้มมะปี๊ดนี้มีวิตามิน C สูงถึง 43.9 มิลลิกรัม ซึ่งสูงกว่าน้ำมะนาวคิดเป็นร้อยละ 10 รวมถึงวิตามินเอ วิตามินบีรวม สารอาหารเหล่านี้ทำให้ส้มมะปี้ดเป็นวัตถุดิบอันทรงคุณค่าให้ประโยชน์ในด้านโภชนาการเป็นส่วนผสมของอาหารและเครื่องดื่มได้อย่างดีเยี่ยม ซึ่งมีการรายงานผลการวิจัยช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ช่วยให้ระบบการย่อยอาหารทำงานปกติ ใช้เป็นยาแก้ไอ เป็นยาระบาย และต้านการอักเสบ (antiphlogistic) ซึ่งคณะได้พิจารณาเห็นถึงความสำคัญ อย่างไรก็ตามส่วนที่เป็นเนื้อและน้ำได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์และแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ในขณะส่วนที่เป็นเปลือกหรือผิวที่ไม่ค่อยได้นำมาใช้ประโยชน์ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเปลือกส้มมะปี๊ดประกอบด้วยสารระเหย หรือ  น้ำมันหอมระเหย (Volatile oil) มากถึง 58 ชนิด ได้แก่ limonene, cis-linalool oxide, linalool, α-terpineol, (E,E)-2,4-decadienal และ methyl N-methyl anthranilate เป็นต้น สารหอมระเหยจากเปลือกส้มจี๊ดนอกจากจะให้กลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์แล้วยังมีฤทธ์ทางชีวภาพในด้านการเป็นสารต้านอนุมูลอิสะ (Anti-oxidant) มีฤทธิ์ยบยั้บเอนไซม์ tyrosinase ที่ใช้ในการสร้าง Melanin หรือเม็ดสี (Anti- tyrosinase) ยับยั้งการเจริญของเนื้องอก (Anti-tumor) และระบบประสาท (Nervous system) จึงนำองค์ความรู้เหล่านี้มาใช้เพื่อยกระดับพัฒนาผลิตภัณฑ์จากส้มมะปี้ด 

      ได้มีการพัฒนาสูตรและกระบวนการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ “น้ำมันผิวส้มมะปี๊ดจันทบุรี เพื่อใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตน้ำสลัดใส และอาหารเครื่องดื่มอื่นๆ ต่อไป  ซึ่งผลิตภัณฑ์นี้ได้พิจารณาและออกแบบกระบวนการบนหลักการสารสำคัญออกฤทธิ์ทางชีวภาพไม่ว่าจะเป็นน้ำมันหอมระเหย รวมถึงวิตามินส่วนใหญ่ไม่เสถียรที่อุณภูมิสูงและสภาวะที่เป็นด่าง ดังนั้นในกระบวนการแปรูป และหรือการสกัดได้มีเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อรักษาคุณค่าสารสำคัญเหล่านี้ รวมถึงลักษณะเด่นของผลิตภัณฑ์ เริ่มตั้งแต่การเลือกใช้วัตถุดิบเปลือกส้มมะปี๊ดจากจังหวัดจันทบุรี  นำมาผ่านกระบวนการสกัดกัดน้ำมัน ด้วยอุณภูมิเพียง 50 °C จนได้ระยะเวลาที่เหมาะสมจะทำให้ได้ น้ำมันผิวส้มมะปี๊ดจันทบุรี ที่ได้มีลักษณะเป็นของเหลว มีความหนืดเล็กน้อย สีส้มอมเหลือง ที่สำคัญมีกลิ่นหอมของส้มมะปี๊ด สามารถนำไปประยุกต์หรือใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหารประเภทอื่นๆ โดยเฉพาะการใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตน้ำสลัดใสส้มมะปี๊ด แล้วยังสามารถใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหารอิมัลชั่นอื่นๆ ผลิตภัณฑ์เบเกอรรี่ เพื่อเสริมสร้างกลิ่นรสในอาหารและยังได้คุณประโยชน์จากน้ำมันหอมระเหยที่อยู่ในเปลือกส้มมะปี๊ด