Search
Close this search box.

คุณ กันต์

สมุนไพรกับวัยรุ่น: ความเป็นเอกลักษณ์ของจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี เป็นเมืองที่มีประวัติอันยาวนานและเต็มไปด้วยวัฒนธรรมและศิลปะสานต่อกันมากว่าร้อยปี จนถึงปัจจุบัน มีสมุนไพรและวัตถุดิบท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่ทำให้เมืองนี้มีต้นกำเนิดทางอาหารที่หลากหลายและน่าสนใจมากมาย โดยเฉพาะอาหารจานดั้งเดิมที่ถือกำเนิดจากสมุนไพรและผลไม้ของพื้นที่นี้ การตระหนักรู้ในวัยรุ่น แม้ว่าวัยรุ่นในจันทบุรีจะยังไม่ค่อยรู้จักกับสมุนไพรมากนัก แต่ด้วยการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เน้นการให้ความรู้และประสบการณ์กับสมุนไพร พวกเขาได้มีโอกาสรู้จักและเห็นคุณค่าของสิ่งนี้มากขึ้น โครงการต่าง ๆ ที่ผนวกไปด้วยกิจกรรมการแข่งขันทำอาหาร และนำเสนอเมนูที่มีสมุนไพรเป็นส่วนผสม ได้เสริมสร้างความตระหนักรู้ในวัยรุ่นเกี่ยวกับความสำคัญของสมุนไพรในอาหารและวัตถุดิบท้องถิ่นจันทบุรีมากขึ้น มหัศจันท์ทอล์กในวันนี้เราอยู่กับ “คุณกันต์ กัญญารัตน์ เมืองนก” เจ้าของร้านเกี๊ยวซ่า มี ผู้ชนะรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 4 ในการแข่งขันทำอาหารโครงการมหัศจันท์แห่งรสชาติ และเป็นผู้ประกอบร้านอาหารที่นำสมุนไพรจันทบุรีมาผสมผสานกับอาหารและเครื่องดื่ม โดยมีเมนูที่น่าสนใจที่ดึงดูดให้วัยรุ่นเข้าถึงให้สมุนไพรได้ง่ายขึ้น เกี๊ยวซ่า มี: เมนูผสมผสานที่ลงตัว ร้านเกี๊ยวซ่าสไตล์ญี่ปุ่น มีให้เลือกอร่อยได้ 2 แบบ คือทอดแบบดั้งเดิม (การทอดเกี๊ยวในน้ำร้อนและต้มจนแห้ง แล้วใส่น้ำมันงา เพื่อทอดให้ด้านนอกเกี๊ยวกรอบเล็กน้อย) หรือการทอดกรอบ สามารถเลือกได้แบบ 6 ชิ้น, 10 ชิ้น, 16 ชิ้น และ 32 ชิ้น หรือเพิ่มความอร่อยด้วยการเพิ่มหน้าบนเกี๊ยวซ่าก็ได้ รวมถึงมีเมนูข้าวแกงกะหรี่ญี่ปุ่นโฮมเมดให้ได้อิ่มอร่อยด้วย “ถ้าพูดเรื่องสมุนไพรกับเด็กรุ่นใหม่ในจันทบุรี ก็ต้องยอมรับว่าห่างไกล […]

คุณ ราตรี

“มีฝัน… ฉันจึงมีแรง” มหัศจันท์ทอล์กวันนี้เปิดเผยถึงความทรงจำแรกกับคำพูดนี้ของ“พี่ราตรี ณิชกุล โพธิสิทธิ์” หนึ่งในสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกสิกรรมธรรมชาติ และเรื่องราวคอนเซ็ปต์และเมนูอาหารฟิวชันฟูดที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 จากการแข่งขันทำอาหารมหัศจันท์แห่งรสชาติ ที่พี่ราตรีใช้โอกาสทำความฝันให้เป็นจริง ทำให้เข้าใจว่าความฝันเป็นพลังที่ทำให้เรามีความมุ่งมั่นและพยายามอย่างไม่รู้จบ ที่มาของความสนใจ “พี่เป็นแม่ค้าขายอาหารตามสั่ง มีร้านเล็ก ๆ หน้าบ้านตัวเองใน อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรีนี่แหละ ก่อนการแข่งขันพี่กับสมาชิกในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกสิกรรมธรรมชาติ มีโอกาสไปร่วม Workshop การทำและตกแต่งอาหาร ในโครงการมหัศจันท์แห่งรสชาติ ที่เชฟประชัน วงศ์อุทัยพันธ์ มาเป็นวิทยากรพิเศษ ซึ่งจัดขึ้นโดยมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรีค่ะ วันนี้พี่มีความสุขมากเลย ดีใจที่ได้เจอเชฟเก่ง ๆ ระดับประเทศ เขามาให้สอน มาให้ความรู้ แล้วพี่ก็นำกลับมาใช้กับการทำอาหารที่ร้านได้ด้วย” เรื่องราวของการสานความฝัน “การที่ได้ไปแข่งขันทำอาหารเกิดมาจากหัวหน้ากลุ่มและพี่ ๆ น้อง ๆ สมาชิกในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกสิกรรมธรรมชาติช่วยสนับสนุน เพราะเห็นว่าเราถนัดในการทำอาหาร และพี่ก็มีหลานสาวมาช่วยคิดอีกแรงนึง ก่อนไปแข่งก็กลัวนะ ไม่มั่นใจเลย แต่อีกใจก็คิดว่า นี่มันเป็นความใฝ่ฝันของเราเลยนะ ว่าสักครั้งหนึ่งในชีวิต อยากมีโอกาสได้ทำอาหารให้เชฟเก่ง ๆ ได้ชิม มาลองดูสักตั้ง” เมนูที่แห่งความสำเร็จและความสุข “คอนเซ็ปต์อาหารในวันนั้นคือ “สำรับจันท์อิ่มใจ”ค่ะ […]

เชฟบิว

อยากทราบไหมว่าทำไมหลายคนถึงยอมจ่ายเงินที่สูงขึ้น เพื่อให้ได้ลิ้มรสชาติอาหารแบบ Fine Dining ? มหัศจันท์ทอล์กวันนี้จะทำให้คุณรู้ว่า “การได้ลิ้มรสชาติอาหารแบบ Fine Dining ให้ได้สักครั้งหนึ่งในชีวิตถือเป็นการเปิดประสบการณ์ผ่านจานที่คุ้มค่าและไม่ควรพลาด…” 10 ปีที่ผ่านมานี้เทรนด์อาหารของทั่วโลกมีการปรับเปลี่ยนไปมาก และยังมีคำศัพท์แปลกใหม่ในวงการอาหารเกิดขึ้นมากขึ้นเช่นกัน อย่างเช่นคำว่า “Fine Dining” ที่เราจะได้ยินคำนี้จากร้านอาหารหรือภัตตาคารระดับพรีเมี่ยม ที่เสิร์ฟทั้งอาหารและเครื่องดื่มที่ปรุงขึ้นมาจากวัตถุดิบคุณภาพดี และได้รับการคัดสรรมาอย่างดี โดยอาหารแต่ละจานมีมาตรฐานในเรื่องของรสชาติ และการตกแต่งจาน รวมถึงการบริการที่เหนือกว่าร้านอาหารทั่วไปอย่างชัดเจน ซึ่งถ้าไม่ใช่กรุงเทพมหานคร หรือจังหวัดหัวเมืองใหญ่แล้ว ร้านอาหารแบบ Fine Dining เรียกว่าหาได้ยากมากหรือแทบจะหาไม่ได้เลย… “Chef Artisan Chef Cuisine – ร้านอาหาร Fine Dining แห่งจันทบุรี เมืองแห่งอาหารอันอุดมสมบูรณ์ของภาคตะวันออก” ร้านนี้ดูแลโดย เชฟบิว ภูเตโช กาญจนกิตติกูล ร่วมกับเชฟแอ้ กายตรี กาญจนกิตติกูล Executive Chef, ร้าน Chef Artisan Chef Cuisine ซึ่งทั้งสองท่านเป็นเชฟผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารยุโรป ที่ย้ายถิ่นฐานมาปักหลักอยู่ที่จังหวัดจันทบุรี และนำประสบการณ์การทำงานในโรงแรมใหญ่ […]

อาจารย์กั๊ก

วิถีการกินของมนุษย์เปลี่ยนไป “หลังวิกฤตโรคระบาด” หลังจากวิกฤตการณ์โลกระบาดครั้งรุนแรงที่เพิ่งผ่านพ้นไป ทำให้มนุษย์หรือผู้บริโภคอย่างเราตระหนักได้ว่า “ควรกินอาหารที่เป็นมากกว่าอาหาร นั่นคือการกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ การกินอาหารเป็นยา หรือที่เรียกว่า Functional Food” จึงเป็นที่มาในการนำประเด็นนี้มาจับคู่กับความต้องการของผู้ประกอบการ แล้วพัฒนาให้เกิดผลิตภัณฑ์อาหารที่ได้คุณค่าทางโภชนาการ มีสารสำคัญที่เป็นประโยชน์ และยังสามารถจำหน่ายในราคาที่เพิ่มมากขึ้นได้อีกด้วย เราจึงอยากชวนทุกคนมานั่งทอล์กกับ อ.กั๊ก ดร.ปริยดา สิทธิศาสตร์ อาจารย์ประจำสาขาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี หนึ่งในทีมผู้เชี่ยวชาญและดูแลกิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ ภายใต้โครงการ Comprehensive Gastronomy Tourism @ Chanthaburi โครงการที่อยู่ในการดูแลและดำเนินการโดยคณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี ร่วมกันในตอนนี้ “ถ้าพูดถึงการบริโภคอาหารของคนยุคนี้ คือไม่ได้กินแค่เพราะมันเป็นอาหารและอร่อย แต่กินเพราะมันเป็นยาด้วยค่ะ ซึ่งการทำงานของอาจารย์และผู้เชี่ยวชาญในหัวข้อกิจกรรมที่ 4 นี้ จะมีการพัฒนาวัตถุดิบที่เป็นอัตลักษณ์ถิ่นจันทบุรีให้ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีขึ้น กินง่ายขึ้น ราคาสูงขึ้น หรือเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ไปเลย แต่ทั้งหมดนี้ก็คือ “กินแล้วดีต่อสุขภาพด้วย” เช่น มะปี๊ดหรือส้มจี๊ด ถูกพัฒนามาเป็นอาหารเสริมที่แค่ฉีกซองเทใส่น้ำ คนให้ละลายแล้วดื่มได้เลย เราก็จะได้วิตามินซีในปริมาณที่สูง แทนที่จะกินส้ม มะนาว หรือมะปี๊ดเป็นสิบ ๆ ลูก […]

คุณ ไต๋เฮง

“สิ่งที่ผมทำอยู่นี้ต้องใช้ความเพียร ถ้าไม่เพียรพยายามคงทำไม่ได้” หนึ่งในคำพูดของไต๋เฮง ชาวประมงผู้ที่ทำให้รู้ว่าท้องทะเลจันท์มีความสำคัญและความหมายมากแค่ไหน หลังผ่านพ้นวันฝนตกอย่างหนักในช่วงเดือนตุลาคม เรามีนัดกับ “ไต๋เฮง สมุทร หอมหวล” เพื่อออกไปเรียนรู้เรื่องราวของท้องทะเลจันทบุรี ฝั่ง ต.บางชัน อ.ขลุง จ.จันทบุรี ซึ่งจุดนัดพบแรกคือบ้านไต๋เฮง เพื่อลงเรือประมงลำเล็ก ที่เพียงพอสำหรับนั่งได้ 2 คน หัวเรือเป็นทรงแหลม ไม่มีหลังคาสำหรับคุ้มแดดคุ้มฝน เมื่อสิ้นเสียงสตาร์ทเครื่องยนต์ เรือก็แล่นสู่ลำคลองและท้องทะเล การทำประมงแถวนี้เป็นประมงพื้นบ้าน ใช้เรือลำเล็กเพื่อให้เหมาะสมกับพื้นที่ลำคลองเล็ก ๆ ในป่าโกงกาง อุปกรณ์ที่ใช้ เช่น ลอบ แห ฯลฯ ซึ่งบนเรือลำนี้มีเพียงของจำเป็นคือเหล็กยาวที่ปลายโค้งงอ เชือกยาว ๆ ปลายติดสมอสี่แฉกสำหรับเกี่ยวลอบ และเชือกฟาง เพราะสิ่งที่รอเราอยู่นั้นคือการกู้ลอบดักปู 40 ลูก ที่ไต๋เฮงได้วางไว้เมื่อ 2 คืนก่อนกลางป่าโกงกางแห่งนี้ “ผมวางลอบดักปูไว้ประมาณ 40 – 50 ลอบ ด้านในลอบจะมีเหยื่อซึ่งใช้ท่อพีวีซีตัดเป็นท่อน 1-2 นิ้ว เจาะรูให้รอบ แล้วใส่ปูแสมเข้าไปเป็นเหยื่อล่อ เพราะมันสีเหลือง ๆ […]

คุณ น้ำ รัชนี

โชกุปัง ขนมปังสัญชาติญี่ปุ่น “สไตล์จันท์” หอม นุ่ม อร่อย ดีต่อสุขภาพ มหัศจันท์ทอล์กวันนี้ เป็นเรื่องราวที่แอดมินเพจมหัศจันท์แห่งรสชาติ ได้มีโอกาสติดตามกองถ่ายทำสารคดี “The Journey of มหัศจันท์แห่งรสชาติ” ไปสัมภาษณ์พี่น้ำ รัชนี เปาอินทร์ หนึ่งในสมาชิก Young Smart Farmer จันทบุรี ที่เป็นทั้งสาวชาวสวน วิทยากร แม่ค้า เรียกว่ามีหลายบทบาทมาก ๆ แต่ในการถ่ายทำวันนี้ จะพูดคุยกับพี่น้ำในฐานะ Baker หรือคนทำขนมปัง “โชกุปังสไตล์จันท์” ที่มีแนวคิดนำนวัตกรรมมาใช้ในการพัฒนาอาหารร่วมด้วย โชกุปัง (Shokupan) เป็นขนมปังที่มีต้นกำเนิดที่ประเทศญี่ปุ่น และมีการคิดค้นสูตรเมื่อประมาณหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งลักษณะเด่นของโชกุปัง คือขนมปังปอนด์ที่ด้านนอกเป็นสีเหลือง เนื้อนุ่ม เปลือกบาง ด้านในเป็นสีขาว เนื้อฟู เด้ง กลิ่นหอม ซึ่งเมื่อ 1-2 ปีที่ผ่านมา ต้องเรียกว่าเป็นปีที่ “โชกุปัง” ได้รับความนิยม เรียกกระแสนิยมจากนักกินได้มากที่สุด “ พี่น้ำเป็นคนชอบเรื่องการแปรรูป […]

ผู้ใหญ่ริน

เรื่องเล่าอันไกลโพ้นของ “หมู่บ้านไร้แผ่นดิน” คำว่า “ไกลโพ้น” เป็นคำเปรียบเปรยจากเรื่องราวอันยาวนานของหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่ไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นแผ่นดิน ซึ่งถูกค้นพบโดยชาวจีนที่แล่นเรือผ่านมาเมื่อประมาณ 150 ปีก่อน ที่ตอนนี้กำลังจะถูกถ่ายทอดเรื่องราวผ่านลูกหลานคนในหมู่บ้านกับมหัศจันท์ทอล์ก ผู้ใหญ่ริน ผู้ใหญ่บ้านปากน้ำเวฬุ หมู่ 2 ต.บางชัน อ.ขลุง จ.จันทบุรี คือบุคคลที่เราจะชวนมานั่งทอล์กกันในตอนนี้ “ยินดีต้อนรับสู่หมู่บ้านไร้แผ่นดินครับ ที่ ๆ หลายคนอาจจะเคยมาเที่ยว หรืออยากมาเที่ยว มาล่องแพเปียก กินปู ดูเหยี่ยว เที่ยวหมู่บ้านไร้แผ่นดิน” ที่แห่งนี้เดิมทีคนจะรู้จักกันในชื่อ “บ้านปากน้ำเวฬุ” เป็นชุมชนที่มีความเป็นมายาวนานกว่า 150 ปี โดยเริ่มก่อตั้งมาตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ. 2401 กลุ่มคนกลุ่มแรกที่มาตั้งรกรากอยู่ในหมู่บ้านนี้คือชาวจีนที่เดินทางอพยพเข้ามาในไทย และเห็นว่าเป็นบริเวณที่มีป่าโกงกางเป็นจำนวนมาก และมีความอุดมสมบูรณ์ทางทะเล มีสัตว์น้ำมากมาย จึงได้ทำประมงจนกลายเป็นอาชีพมาจนถึงปัจจุบัน บ้านปากน้ำเวฬุเกิดจากการรวมกันของ 3 หมู่บ้าน ประกอบไปด้วย บ้านโรงไม้ บ้านเลนตัก และบ้านแหลมหญ้า ซึ่งบ้านปากน้ำเวฬุมีชื่อเรียกด้วยกันอยู่ 3 ชื่อ คือ 1. ชื่อบ้านปากน้ำเวฬุ ชื่อที่ใช้เรียกในทางราชการ เนื่องจากตัวหมู่บ้านตั้งอยู่ทางชายฝั่งของปากแม่น้ำเวฬุ จึงได้ตั้งเป็นชื่อหมู่บ้าน […]

ครูติ๋ม

“อาหารถิ่นจันท์ จริง ๆ แล้วไม่ใช่รสชาติหวานโดดนะ แต่ดั้งเดิมแล้วอาหารของจันทบุรีจะมีรสชาติกลมกล่อม พอดี เน้นใส่สมุนไพรและเครื่องเทศเยอะ ๆ” นี่คือประโยคแรกที่ครูติ๋มพูดคุยกับเชฟปิงในขณะถ่ายทำรายการสารคดี The Journey of มหัศจันท์แห่งรสชาติ ที่ทางคณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรีเป็นผู้อำนวยการผลิตขึ้น ซึ่งในวันนั้นเป็นการถ่ายทำในหัวข้อ “อาหารถิ่นจันทบุรี” โดยมีเชฟปิงเป็นนักเล่าเรื่อง และครูติ๋มเป็นแขกรับเชิญพิเศษ ครูติ๋ม ถนอมนวล สุขสานต์ คือผู้ที่จะชวนมาทอล์กด้วยกันในวันนี้ โดยครูติ๋มท่านเคยเป็นครูสอนวิชาคหกรรมอาหาร และงานฝีมือมาก่อน พอเกษียณอายุก็มีอาชีพใหม่เป็นแม่ครัวรับทำอาหารกล่องภายใต้แบรนด์ “by ครูติ๋ม” ปรุงอาหารไทยและอาหารถิ่นจันท์ตามงานต่าง ๆ ทั่วจังหวัดจันทบุรี ซึ่งดูจากคิวงานที่ยาวติด ๆ กันทั้งเดือนแล้ว ก็เป็นเครื่องการันตีได้ว่าฝีมือการปรุงอาหารของครูติ๋มนั้นต้องไม่ธรรมดาอย่างแน่นอน เกร็ดความรู้ และเคล็ดลับความอร่อยของอาหารถิ่นจันทบุรีจากครูติ๋ม ได้ถูกถ่ายทอดออกมาอย่างไม่ขาดสาย “ไก่ต้มกระวาน” ดั้งเดิมแล้วเป็นการต้มแบบน้ำใส ๆ รสอ่อน ๆ ไม่ได้มีรสชาติเปรี้ยว เผ็ด คล้ายต้มยำเหมือนในปัจจุบัน ซึ่งเคล็ดลับความอร่อย คือการใส่สามเกลอ (กระเทียม พริกไทย รากผักชี) ตำให้ละเอียด แล้วใส่ลงไปในน้ำที่ต้มจนเดือด ไก่ก็ต้องเลือกส่วนเนื้อสะโพกที่ติดหนังด้วยนะคะถึงจะอร่อย […]

EP2 คุณ สุธีร์

ถามว่าทำเกษตรแบบออร์แกนิกยากไหม “ก็ถ้าเราคิดว่าจะไปควบคุมต้นไม้มันก็ยาก แต่ถ้าคิดว่าเราจะไปซัพพอร์ตอะไรต้นไม้ได้มันก็ง่ายเลย” เพราะต้นไม้เขาโตเองได้… ชวนมาทอล์คถึงมุมมองของการ “ผสมผสาน” เรื่องราวชีวิต ความคิด และการทำเกษตรสไตล์สุธีร์ ออร์แกนิก ฟาร์ม สวนสุธีร์ ออร์แกนิก ฟาร์ม มีพื้นที่ประมาณร้อยกว่าไร่ซึ่งทำเป็นเกษตรอินทรีย์ (Organic) ทั้งหมด แต่เราจะจัดสรรพื้นที่ตามความเหมาะสม เช่น ที่ตรงนี้ปลูกมังคุดอร่อยก็ปลูกมังคุดไป ที่ตรงนี้ควรปลูกเงาะก็ปลูกไป แต่ในทุก ๆ ที่จะพยายามจัดสรรให้มันผสมผสานอยู่ เพราะเกษตรเชิงเดี่ยวไม่ตอบโจทย์อะไรเลย มันมีทั้งความเสี่ยง ความไม่แน่นอนของระบบนิเวศน์ การขายผลผลิต ดังนั้นการผสมผสานน่าจะเป็นคำตอบ แต่มันอาจไม่ใช่เกษตรกระแสหลักนะ เพราะว่าแบบนั้นเขาต้องการพื้นที่ในการทำงานที่มันโล่งเตียน ส่วนเราต้องการผสมผสานอย่างมาก ในการทำสวนแบบเกษตรอินทรีย์ (Organic) จะมี 2 เรื่องหลักที่ต้องใส่ใจคือ 1. อิงกับธรรมชาติ 2. หลีกเลี่ยงการใช้สารสังเคราะห์ ถามว่าทำเกษตรแบบนี้ยากไหม ก็ถ้าเราคิดว่าจะไปควบคุมต้นไม้มันก็ยาก แต่ถ้าคิดว่าเราจะไปซัพพอร์ตอะไรต้นไม้ได้มันก็ง่ายเลย เพราะต้นไม้เขาโตเองได้ พืชในสวนนี้ ผมก็จะปลูกผลไม้ ทั้งทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง มะปี๊ด ใต้ต้นผลไม้ก็จะมีสมุนไพรแซม ๆ อยู่ […]