กระวาน ชื่อสามัญที่สากลรู้จักกัน คือ “Cardamom” กระวานไม่ได้ใช้กันทั่วไปในการประกอบอาหารไทย แต่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศ สำหรับไทยใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ เช่น การรักษาอาการปวดท้อง ท้องผูก และปัญหาการย่อยอาหาร โดยเฉพาะส่วนที่เป็นผลหรือเม็ดถือว่าเป็นเครื่องเทศแปลกใหม่ที่นิยมใช้ในขนมอบของเดนมาร์ก เค้กเครื่องเทศสแกนดิเนเวีย วาฟเฟิลกระวาน กาแฟซาอุดีอาระเบีย และอินเดียนิยมใช้กระวานผลแห้งเป็นส่วนผสมในการปรุงรสอาหาร แต่สำหรับชาวจันทร์แล้ว กระวานจันทบุรีโดยเฉพาะที่ปลูกในพื้นที่อำเภอเขาสอยดาว ถือว่าเป็นแหล่งผลิตกระวานที่สำคัญของไทย กระวานที่ได้มีคุณภาพดีเป็นที่ต้องการของตลาดในประเทศและต่างประเทศ และที่สำคัญชาวจันท์มักนิยมนำมาใช้เป็นเครื่องเทศ และเป็นสมุนไพรพื้นบ้านมาอย่างยาวนาน มีการนำส่วนที่บริโภคได้ไม่ว่าจะเป็นเม็ด หน่อ และใบมาใช้เป็นส่วนประกอบในการปรุงแต่งอาหารคาว ส่วนเม็ดนั้นมีรสเผ็ดร้อน และมีกลิ่นหอมแรง ใช้เป็นเครื่องเทศประกอบอาหารเพื่อดับกลิ่นคาว นำมาตำผสมเป็นเครื่องแกงหรือพริกแกง ส่วนหน่อนิยมนำมาประกอบอาหารพื้นบ้าน ได้แก่ ไก่ผัดเผ็ดหน่อกระวาน ไก่ต้มหน่อกระวาน หมูเลียงทอดมันปลาอินทรีย์หน่อกระวาน ช่วยเพิ่มรสเผ็ดร้อนเพิ่มกลิ่นหอมและดับกลิ่นคาวคล้ายการใส่ข่า ในขณะที่ใบกระวานมีการใช้บ้างในบางเมนูอาหารคาว เมื่อเทียบกับส่วนที่เป็นเม็ดและหน่อแล้วนั้นยังไม่ค่อยนำมาใช้เป็นส่วนผสมในอาหารเท่าไรนัก
จึงเล่งเห็นการนำใบกระวานที่มีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ (bioactive compounds) ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคไม่แพ้ส่วนที่เป็นเม็ดและหน่อ เช่น สารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ (flavonoids), น้ำมันหอมระเหย (essential oils) และแทนนิน (tannins) มีงานวิจัยที่รายงานว่ามีบทบาทในการต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะสาร tannin มีผลต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือด (anti-hyperglycemic) และมีไฟเบอร์สูง (Fiber) โดยเฉลี่ย 1.6 กรัมต่อหนึ่งร้อยกรัม มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่อยู่ในรูปที่รับประทานง่ายขึ้น สะดวก และกลิ่นรสเป็นที่ยอมรับของผู้ที่ไม่สามารถบริโภคสมุนไพรที่มีกลิ่นแรงและรสจัดได้ โดยได้มีการพัฒนาและนำน้ำใบกระวานมาผสมผสานกับวัตถุดิบอัตรลักษณ์ที่ช่วยเพิ่มรสชาติ นั้นคือ ส้มมะปี๊ด หรือ “มะปี๊ด” (ชื่อสามัญ Calamondin) เป็นพืชสวนครัวประจำถิ่นนิยมนำมาใช้ในการปรุงอาหารที่มีความเปรี้ยวไม่แพ้มะนาวในอาหารคาว-หวาน ที่สำคัญน้ำส้มมะปี๊ดวิตามินซีสูงถึง 43.9 มิลลิกรัม/น้ำหนักแห้งหนึ่งร้อยกรัม ซึ่งสูงกว่าน้ำมะนาวคิดเป็นร้อยละ 10 อีกทั้งยังมีสารที่มีคุณค่าทางโภชนาการโดยมีใยอาหารสูงถึง 6.5 โปรตีน 1.88 คาร์โบไฮเดรต 15.9 กรัม/น้ำหนักแห้งหนึ่งร้อยกรัม รวมถึงวิตามินเอ วิตามินบีรวม ที่สำคัญ มีไขมันต่ำเพียง 0.86 กรัม/น้ำหนักแห้งหนึ่งร้อยกรัม จึงมีความเหมาะสมที่นำมาเป็นส่วนผสมและสามารถพัฒนาต่อยอดในอนาคตเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์อาหารฟังก์ชั่น
จากการวิเคราะห์องค์ประกอบสารสำคัญและความต้องการเข้าถึงผู้บริโภคที่ไม่สามารถบริโภคสมุนไพรเครื่องเทศกลิ่นแรงได้ จึงเกิดเป็นผลิตภัณฑ์กัมมี่เยลลลี่ ผลิตภัณฑ์นี้จัดเป็นผลิตภัณฑ์ในกลุ่มของลูกกวาด (Confectionery product) เป็นที่นิยมโดยเฉพาะในกลุ่มอายุต่ำกว่า 17 ปี เนื่องจากมีลักษณะเคี้ยวหนึบ ที่มีส่วนผสม น้ำผลไม้ เจลาติน และวัตถุเจือปนอาหาร (food additive) ที่เติมแต่งกลิ่น สี และรสชาติ จนบางครั้งแถบจะไม่มีส่วนผสมของน้ำผลไม้เลย โดยเฉพาะสารให้ความหวานประเภทน้ำตาลทราย (sucrose) และกลูโครสไซรับ (glucose syrup) เป็นส่วนผสมหลัก ที่เมื่อพิจารณาคุณค่าทางโภชนาการพบว่าสารอาหารหลักของกัมมี่เยลลี่คือ คาร์โบไฮเดรตและน้ำตาล ทำให้กัมมี่เยลลี่ที่วางขายตามท้องตลาดให้พลังงานเท่านั้น ดังนั้นการประยุกต์ใช้น้ำใบกระวานที่อุดมด้วยสารสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพโดยเฉพาะในแง่ของฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา และน้ำส้มมะปี๊ดที่มีสารที่มีคุณค่าทางโภชนาการโดยเฉพาะวิตามินซีและไฟเบอร์มาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์กัมมี่เยลลลี่ที่ควบคุมกระบวนการผลิตตั้งแต่การทำให้น้ำใบกระวานและน้ำส้มมะปี๊ดเข้มข้นที่อุณหภูมิต่ำ ตลอดจนขั้นตอนการแปรรูปรูปที่ใช้ความร้อนต่ำเพื่อรักษาสารสำคัญในคงอยู่มากที่สุด อีกทั้งการพัฒนาสัดส่วน ส่วนผสมต่างๆทำให้เนื้อสัมผัส ความแข็งแรงของเจล ไม่นิ่มจนเกินไป หยืดหยุ่น แต่ไม่เคี้ยวยากจนเกินไป ทานง่าย เคี้ยวเพลิน ที่สามารถซื้อทานเล่น หรือเพื่อเป็นของฝากของที่ระลึกอัตรลักษณ์จันทบุรีได้อีกด้วย